เมนู

สุภาษิตสูตรที่ 3


ว่าด้วยวาจาเป็นสุภาษิต


[356] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วาจาอันประกอบด้วยองค์ 4 เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต เป็นวาจา
ไม่มีโทษ เเละวิญญูชนไม่พึงติเตียน องค์ 4 เป็นไฉน. คือ ภิกษุในศาสนานี้
ย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต ไม่กล่าวคำที่เป็นทุพภาษิต 1 ย่อมกล่าวคำที่
เป็นธรรม ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม 1 ย่อมกล่าวแต่คำอันเป็นที่รัก ไม่กล่าว
คำอันไม่เป็นที่รัก ย่อมกล่าวแต่คำสัตย์ ไม่กล่าวคำเหลาะแหละ 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ 4 นี้แลเป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็น
ทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่พึงติเตียน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าวคำอันเป็น
สุภาษิตว่าเป็นคำสูงสุด บุคคลพึงกล่าวแต่คำ
ที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม

ข้อนั้นเป็นที่ 2 บุคคลพึงกล่าวคำอันเป็นที่รัก
ไม่พึงกล่าวคำอันไม่เป็นที่รัก ข้อนั้นเป็นที่ 3
บุคคลพึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงกล่าวคำเหลาะ-
แหละ ข้อนั้นเป็นที่ 4
ดังนี้.
[357] ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียง-
บ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมเทสนา ย่อมแจ่มแจ้งแก่
ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต พระธรรมเทศนาย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวังคีสะ ธรรมเทศนาจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด.
ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ชมเชยด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร
ในที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
บุคคลพึงกล่าววาจาอันไม่เป็นเครื่อง
ทำตนให้เดือดร้อน และไม่พึงเบียดเบียน
ผู้อื่น วาจานั้นเป็นสุภาษิตแท้.
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก
อันชนชื่นชม ไม่ถือเอาคำอันลามก กล่าว
วาจาอันเป็นที่รักของผู้อื่น.
คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้
เป็นของเก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นแล้วใน
คำสัตย์ ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.

วาจาที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็นวาจา
เกษม เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อกระทำให้แจ้ง
ซึ่งที่สุดทุกข์ วาจานั้นแลเป็นวาจาสูงสุดกว่า
วาจาทั้งหลาย.

จบสุภาษิตสูตรที่ 3

อรรถกถาสุภาษิตสูตรที่ 3


สุภาสิตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าสดับมาแล้ว
อย่างนี้ ดังนี้.
พระสูตรนี้เกิดขึ้นโดยอัธยาศัยของพระองค์. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกล่าวคำน่ารัก. พระองค์ทรงห้ามการกล่าวคำชั่วของสัตว์ทั้งหลาย โดยทรง
ประกาศคำกล่าวที่เป็นสุภาษิตของพระองค์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้นเป็นคำของพระสังคี-
ติกาจารย์. ในพระสูตร บทว่า ตตฺรโข ภควา ฯเปฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขุ
นี้ ไม่เคยมีมาแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล. เพราะฉะนั้น เพื่อ
พรรณนาบทที่ไม่เคยมีมาแล้วท่านจึงกล่าวคำนี้. บทว่า ตตฺร แสดงถึงเทศะ
และกาละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในสมัยที่พระองค์อยู่นั้น และ
ในพระอารามที่เสด็จประทับอยู่นั้น อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงในเทศะและกาละ
อันควรที่จะพึงตรัส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสธรรมในเทศะหรือในกาละ